top of page
logo-globalforumethicsai.png

Event date:  June 27, 2025

Event time:  8.30 A.M. - 4.30 P.M.

3rd OCS Annual International Symposium – Better Regulation for Better Thailand : Achieving Sustainability with Digital Ready Regulatory Approach





3rd OCS Annual International Symposium

การประชุมวิชาการระหว่างประเทศประจำปีของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ครั้งที่ ๓


Better Regulation for Better Thailand: Towards A Sustainable and Digital Ready Economy

พัฒนาคุณภาพกฎหมายเพื่อสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนของประเทศไทย


27 June 2025


Conference Outline

Today, regulatory and policy frameworks across countries, Thailand included, are contending with increasing levels of complexity due to the novel cross-cutting challenges posed by changing societal conditions, environmental degradations and new technologies. Furthermore, within this context, governments around the world have not fully leverage digital technologies and data in the policy making process, foregoing the potential for efficiency gains within the public sector. 


Due to the emergence of innovative methodologies and tools, such as artificial intelligence (AI) and blockchain technology, Thailand needs to be digital ready both in the formulation of legislation, the subsequent legislative administration, and the regulation of key digital economic sectors. With the current efforts to begin the OECD Accession and the host of important global gatherings such as the UNESCO Global Forum on the Ethics of AI, Thailand is prepared to become the regional focal point to kick start the emerging technology governance and regulation.

To continue trailblazing the regulatory policy discussion on these pertinent issues in the Southeast Asian region, Office of the Council of State (OCS) is hosting an international Symposium bringing together stakeholders from the public sector, private companies, trade and business representative bodies, civil societies, and international partners. The Symposium is held on 27th June 2025 on the side of the 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of Artificial Intelligence, which is hosted by the Government of Thailand. 



ที่มาของการจัดการประชุม

ปัจจุบัน กรอบการกำกับดูแลและนโยบายของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย ต้องเผชิญกับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความท้าทายที่เกิดขึ้นจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ  นอกจากนี้ รัฐบาลทั่วโลกยังไม่สามารถประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลอย่างเต็มที่ในกระบวนการกำหนดนโยบาย ทำให้ไม่สามารถยกระดับการดำเนินการและการให้บริการของภาครัฐได้อย่างเต็มศักยภาพ


การเกิดขึ้นของวิธีการและเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบบล็อกเชน ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทั้งในการกำหนดกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายซึ่งสามารถนำเครื่องมือทางเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้มาปรับใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานภาครัฐ รวมไปถึงการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัลที่สำคัญ  และด้วยในขณะนี้ ประเทศไทยมีความพยายามในกระบวนการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OECD และนโยบายของรัฐบาลในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการประชุมระดับโลกที่สำคัญ เช่น การประชุมระดับโลกเกี่ยวกับจริยธรรมของปัญญาประดิษฐ์ขององค์การยูเนสโก การประชุมวิชาการนานาชาติของสำนักงานฯ ในครั้งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเป็นจุดศูนย์กลางในระดับภูมิภาคในการแลกเปลี่ยนและพัฒนาแนวธรรมาภิบาลและกฎหมายเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นหน่วยงานหลักของประเทศ มีภารกิจสำคัญในการพัฒนานโยบายกฎหมาย และได้รับมอบหมายให้ผลักดันความสัมพันธ์ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเป็นผู้นำในเรื่องนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  สำนักงานฯ จึงมีการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีนี้ถือเป็นการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่สาม ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาคุณภาพกฎหมายเพื่อสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนของประเทศไทย” ซึ่งเป็นเวทีรวบรวมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายกฎหมายและนโยบายด้านเทคโนโลยีจากภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานตัวแทนการค้าและธุรกิจ ภาคประชาสังคม และพันธมิตรระหว่างประเทศ การประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 27 มิถุนายน 2568 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการจัดการประชุมระดับโลกเกี่ยวกับจริยธรรมของปัญญาประดิษฐ์ขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 3 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน




2. กำหนดการประชุม (Agenda)

8.30 - 9.30 

ลงทะเบียนและรับประทานของว่าง


Registration and morning refreshment

9.30 - 9.40 

ช่วงที่ 1 “ชวนฟัง” แนะนำจุดประสงค์และที่มาของงานประชุม โดย นายจินตพันธุ์ ทังสุบุตร (ผู้อำนวยการกองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)


Session 1: Welcome Remarks and Conference Introduction

Mr. Chintapun Dansubutra, Director of Law Reform Division, OCS

9.40 - 10.00 

ช่วงที่ 2 “ชวนคิด” ความพร้อมด้านโครงสร้างกฎหมายของประเทศไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน โดย นายณรัณ โพธิ์พัฒนชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ผลกระทบและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย


Session 2: Are We Ready for the Digital Thailand?

Survey of the current legislative and regulatory landscape 

Mr. Narun Popattanachai, Director of Impact Assessment and Evaluation of Law Subdivision, Law Reform Division, OCS

10.00 - 11.30


ช่วงที่ 3 “ชวนสนทนา” เสวนาเรื่องบทบาทใหม่ด้านการต่างประเทศและด้านความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ร่วมจัดโดย The101.World มีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมแลกเปลี่ยนดังนี้

  • ดร. ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และกรรมการพัฒนากฎหมาย

  • คุณสฤณี อาชวานันทกุล นักวิจัยด้านธุรกิจที่ยั่งยืน และผู้ก่อตั้ง Climate Finance Network Thailand (CFNT) and ThaiPublica

  • ศ.ดร. ภวิดา ปานะนนท์ คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


Session 3: OCS x the101.world present the Panel Discussion on the Emerging Roles of International and Business Cooperations in the Development of the Digital Economy in Thailand

Panelist: 

  • Dr Theweelarp Rittapirom, Director and President of Islamic Bank of Thailand Thailand’s Law Reform Commissioner and 

  • Khun Sarinee Achavanuntakul, Sustainable Business Researcher, and the founder of Climate Finance Network Thailand and ThaiPublica 

  • Professor Dr. Pavida Pananond, Thammasat Business School

11.30 - 12.00

ช่วงที่ 4 “ชวนเข้าใจ” มาตรฐานและคำแนะนำขององค์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในการยกระดับคุณภาพนโยบายและโครงสร้างกฎหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของโลก โดย คุณแดเนียล ตรึงกา (รองหัวหน้าสำนักนโยบายกฎหมาย OECD) นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ


Session 4: Elevating the Regulatory Policy and Framework of the Global Digital Economy through the OECD’s standards and recommendations 

Mr. Daniel Trnka, Deputy Head of Regulatory Policy Division, Public Governance Directorate, the OECD

12.05 - 13.30

รับประทานอาหารกลางวัน และการแสดงสินค้าและบริการดิจิทัลจากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจไทยด้านเทคโนโลยีกฎหมายและการกำกับดูแล (LegTech และ RegTech) 


Lunch and the booth display showcases of selected Thai homegrown Thai RegTech and LegTech startups and companies

13.30 – 14.00

ช่วงที่ 5 “ชวนเฝ้าระวัง” ปัจจัยและความไม่แน่นอนเชิงเศรษฐกิจมหภาคกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย

 โดย รศ.ดร. สมประวิน มันประเสริฐ (กรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)


Session 5: Macroeconomic Factors and Uncertainties as Considerations for the Economic Development of Thailand

Associate Professor Dr. Somprawin Manprasert, Member of the National Economic and Social Development Council

14.00 - 15.30

ช่วงที่ 6 “ชวนคุย” ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์สากลและความพร้อมของประเทศไทย มีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้

  • ดร. จัสมิน บีกึม ผู้อำนวยการภูมิภาคด้านกฎหมายและรัฐกิจ ไมโครซอฟอาเซียน

  • ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ Thailand Future (สถาบันอนาคตไทยศึกษา)

Session 6: Current Stage of the Global AI Governance: Thailand’s Readiness Check

Panelist: 

  • Dr. Jasmine Begum, Regional Director, Legal & Government Affairs, Microsoft ASEAN

  • Dr. Napat Jatusripitak, Managing Director, Thailand Future Foundation


15.30 – 15.45

รับประทานอาหารว่างช่วงบ่าย และการแสดงสินค้าและบริการดิจิทัลจากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจไทยด้านเทคโนโลยีกฎหมายและการกำกับดูแล (LegTech และ RegTech) 


Afternoon refreshment and the booth display showcases of selected Thai homegrown Thai RegTech and LegTech startups and companies

15.45 – 16.15

ช่วงที่ 7 “ชวนฝัน” การกล่าวปาฐกถาปิดการประชุมวิชาการนานาชาติของสำนักงานคณะกรรมกากฤษฎีกาในหัวข้อ การพัฒนากฎหมายในทศวรรษถัดไป 


Closing Keynote Speech, entitled “Regulatory Development in the next decades” 

Mr. Pakorn Nilprapunt, Secretary General of the Council of State 

16.15 – 16.30

ช่วงสุดท้าย การนำเสนอแนวทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีกฎหมาย (LegTech) ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและพิธีการลงนามในบันทึกความตกลงเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของกฎหมายและนโยบายแห่งรัฐระหว่างสำนักงานฯ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และบริษัทไมโครซอฟ


Session Encore: Presentation of the current LegTech project of OCS and the MOU signing ceremony for the development of the government AI regulatory and policy analysis platform between OCS, the Cabinet Secretariat Office, and Microsoft 



Register for onsite attendance

bg-detail-footer.png
Previous Event
img-defalut.jpg

.

.

Next Event

.

.

img-defalut.jpg
bottom of page